ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: วิธีเพิ่มความปลอดภัยสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ  (อ่าน 109 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 498
  • รับจ้างโพสต์เว็บ สำหรับเจ้าของเวปไซต์ เจ้าของกิจการ
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: วิธีเพิ่มความปลอดภัยสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

ถึงแม้ว่าบ้าน จะเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนที่ทำให้หลายคนผ่อนคลาย แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับเด็กและผู้สูงอายุ บ้านคือสถานที่ที่มีความอันตรายและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุไม่น้อยไปกว่าที่อื่น เพราะเด็กคือวัยที่มีความซุกซน มักวิ่งเล่นบ่อยและอาจชนเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านได้ และสำหรับผู้สูงอายุก็อาจมีปัญหาด้านความจำและทรงตัวที่ไม่ดีจนลื่นล้มได้ ซึ่งอาจส่งผลให้บาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรงถึงชีวิต เราจึงควรเพิ่มความปลอดภัยในบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

อุบัติเหตุในบ้าน ภัยใกล้ตัวที่ควรเฝ้าระวัง

คุณจำเป็นต้องเฝ้าระวังอุบัติเหตุในบ้าน เพราะพื้นที่บางจุดอาจนำมาซึ่งความอันตราย โดยเฉพาะหากในบ้านของคุณมีสมาชิกที่อยู่ในวัยเด็กและผู้สูงอายุ นี่คืออุบัติเหตุมักเกิดขึ้นบ่อย

ลื่นล้มหรือตกบันได

การหกล้มลื่นล้ม เป็นอุบัติเหตุมีโอกาสที่เกิดขึ้นได้มากที่สุด มีสาเหตุจากพื้นผิวของกระเบื้องที่ลื่น จนทำให้สมาชิกในบ้านที่ไม่ระมัดระวัง วิ่งเล่น สายตาพร่ามัว หรือมีการทรงตัวที่ไม่ดี ลื่นล้ม หกล้ม และตกบันไดได้ เช่น ผู้สูงอายุลื่นล้มในห้องน้ำ ลูกล้มหัวฟาดพื้น หรือเด็กเล็กตกบันได ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เราควรปฐมพยาบาล อย่างเหมาะสม มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ร้ายแรง ทั้งบาดแผล ฟกช้ำ กระดูกหัก หรือเสียชีวิต


เดินชน

อุบัติเหตุเดินชนสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน อาจทำให้สมาชิกในบ้านเกิดแผลที่แตกต่างกันไป ถ้าหากเป็นเพียงสิ่งของขนาดเล็กอาจเกิดแผลฟกช้ำเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับเด็ก ๆ ที่วิ่งเล่นชนเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ อาจทำให้ตู้หรือชั้นวางล้มทับหรือมีสิ่งของตกลงมาใส่อวัยวะสำคัญ เช่น ตา ใบหน้า ปาก หรือศีรษะ จนเกิดความอันตราย
ต้มน้ำ ทำอาหาร


น้ำร้อนลวกและ ไฟไหม้

น้ำร้อนลวกและ ไฟไหม้ คืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในพื้นที่บริเวณห้องครัว ขณะทำอาหารหรือชงเครื่องดื่มประเภทร้อนอย่าง กาแฟ ชา และน้ำสมุนไพร รวมไปถึงอุบัติเหตุไฟไหม้ที่อาจเกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น เปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าช็อต ทั้งหมดนี้อาจส่งผลให้เกิดบาดแผลที่รุนแรงและทรัพย์สินเสียหาย


ของมีคมบาด

การทำอาหารและซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ อาจทำให้สมาชิกในบ้านเกิดอุบัติเหตุของมีคมบาด เพราะในชีวิตประจำวัน เรามักใช้อุปกรณ์ที่มีแหลมคมเป็นประจำ เช่น มีด กรรไกร หรือคัตเตอร์ รวมไปถึงสิ่งของแตกหักไม่ว่าจะเป็น จาน แก้ว กระเบื้อง หรือกระจก ซึ่งหากไม่ระมัดระวังก็อาจทำให้เกิด แผลถลอก แผลเปิด มีเลือดออก หรือจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาแผล


10 วิธีเสริมความปลอดภัยในบ้านที่มีเด็กและผู้สูงอายุ

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบทั้งทรัพย์สินและร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันอุบัติเหตุด้วยการเพิ่มความปลอดภัยในบ้าน ดังนี้


1. ป้องกันสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า

การป้องกันสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการเพิ่มความปลอดภัยในบ้านที่สำคัญสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กอาศัยอยู่ เพราะพวกเขาคือเด็กที่อยู่ในวัยซุกซน มักหยิบจับสิ่งของ ดึงสายไฟ หรือแหย่รูปลั๊กไฟในขณะที่ผู้ปกครองเผลอได้ ดังนั้นเราจึงควรหาอุปกรณ์ป้องกันสายไฟและไฟฟ้าเพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟช็อต เช่น ติดตั้งกล่องปลั๊กไฟ หรือวางปลั๊กไฟในระดับที่สูงขึ้น


2. ล็อกประตูและหน้าต่างเสมอ

ประตูและหน้าต่าง คือสิ่งอันตรายอันดับต้น ๆ สำหรับผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และสัตว์เลี้ยง เพราะถ้าหากเราเปิดประตูและหน้าต่างทิ้งไว้โดยไม่กำกับดูแล อาจทำให้พวกเขาตกจากหน้าต่าง หรือออกจากบ้านจนทำให้เกิดอันตรายอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นเราจึงควรเพิ่มความปลอดภัยในบ้านด้วยการสังเกตและหมั่นล็อกกลอนประตูและหน้าต่างทุกบาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการบุกรุกจากคนแปลกหน้า


3. หลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมมุม

เพราะการเดินชนเฟอร์นิเจอร์ อาจทำให้เกิดบาดแผลถลอก ฟกช้ำ และมีเลือดออกได้ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุที่ไม่ระมัดระวังหรือมองเห็นพร่ามัว ดังนั้นเราจึงควรเพิ่มความปลอดภัยในบ้านด้วยการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่โค้งมน ไม่มีเหลี่ยมมุม หรือติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทก เพื่อลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นหลังเกิดอุบัติเหตุเดินชนเฟอร์นิเจอร์
ความปลอดภัยในบ้าน ราวกั้นบันได


4. มีราวกั้นบันได

อุบัติเหตุลื่นล้มตกบันไดสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กและผู้สูงอายุ ทั้งจากการวิ่งเล่น หรือเดินขึ้น-ลงบันได เพราะพวกเขาคือช่วงวัยที่ไม่มีความระมัดระวังมากพอ มีสายตาพร่ามัว และมีการทรงตัวที่ไม่ดีสักเท่าไรนัก ซึ่งสำหรับ วิธีป้องกันการตกบันได ง่าย ๆ ที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเองคือ การติดตั้งราวบันได ประตูกั้น และ กันลื่นบันได


5. เก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่อันตราย

ของมีคม อุปกรณ์จากแก้ว กระจก และโลหะ คือสิ่งของอันตรายที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในเด็กและผู้สูงอายุได้ง่าย ทั้งจากถูกของมีคมบาด แก้วหรือกระจกแตก และสัมผัสสนิมจากโลหะ ดังนั้นการเก็บสิ่งของเหล่านี้ให้พ้นสายตาจึงเป็นวิธีเพิ่มความปลอดภัยในบ้านที่เราสามารถมั่นใจได้ว่า จะไม่ทำให้พวกเขาบาดเจ็บแน่นอน


6. ติดตั้งเครื่องจับควัน

เราควรเพิ่มความปลอดภัยในบ้านด้วยการติดตั้งเครื่องจับสัญญาณควัน ในบริเวณห้องครัวของผู้สูงอายุ เพราะพวกเขามีความสามารถในการจดจำที่น้อยลงตามกาลเวลา ทำให้ในหลายครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ จากการหลงลืมปิดเตาแก๊สทั้งระหว่างและหลังทำอาหาร


7. เพิ่มไฟส่องสว่าง

สำหรับผู้สูงอายุที่สายตาพร่ามัว การมองเห็นของพวกเขาอาจมีประสิทธิภาพที่ลดลง จนทำให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น ลื่นล้ม ชนสิ่งของ หรือตกบันได ดังนั้นเราจึงควรเพิ่มความปลอดภัยในบ้านด้วยการเพิ่มไฟส่องสว่างในจุดต่าง ๆ  เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน หรือบันได หรือติดตั้งไฟอัตโนมัติเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุสำหรับในช่วงเวลากลางคืน


8. ตรวจเช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าเสมอ

การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน และหมั่นตรวจเช็กสภาพการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าสม่ำเสมอ คือสิ่งที่เราควรทำเพื่อสร้างความปลอดภัยในบ้าน เพราะหากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เกิดพังหรือเสียหาย ก็อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟดูด และไฟไหม้ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ค่อนข้างอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
ระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน


9. วางระบบเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย

การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน หรือ Home Security คืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมตั้งแต่กล้องวงจรปิด กลอนประตูดิจิทัล สัญญาณกันขโมย กริ่งพร้อมกล้องวิดีโอ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้คุณสามารถมองเห็นกิจกรรมของสมาชิกในบ้าน และสอดส่องการบุกรุกจากบุคคลภายนอกได้


10. ป้องกันพื้นลื่นด้วยวิธีต่าง ๆ

หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มเป็นประจำคงหนีไม่พ้น กระเบื้องและพื้นที่มีความมันเงาและลื่น ดังนั้นเราจึงควรป้องกันพื้นลื่นในส่วนสำคัญของบ้าน เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องครัว น้องนอน หรือ ห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีต่าง ๆ ทั้งการเปลี่ยนพื้นกระเบื้อง การติดตั้งเทปกันลื่น หรือใช้น้ำยากันพื้นลื่น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ