ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: 7 วิธีใช้แอร์ที่มักถูกเข้าใจผิด เพราะแบบนี้ไงเลยจ่ายค่าไฟแพงก  (อ่าน 170 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 511
  • รับจ้างโพสต์เว็บ สำหรับเจ้าของเวปไซต์ เจ้าของกิจการ
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: 7 วิธีใช้แอร์ที่มักถูกเข้าใจผิด เพราะแบบนี้ไงเลยจ่ายค่าไฟแพงกว่าเดิม

การใช้แอร์แบบผิด ๆ ว่าทำแบบนี้จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและจ่ายค่าไฟมากกว่าเดิม มาดูกันว่าเผลอทำไปบ้างหรือเปล่า แล้วจะแก้ไขยังไงดี

เข้าหน้าร้อนทีไรค่าไฟพุ่งกระฉูดทุกที แต่อากาศร้อนซะขนาดนี้ไม่ให้เปิดเครื่องปรับอากาศเลยก็ไม่ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วที่ค่าไฟแพงหูฉี่อาจไม่ได้เป็นเพราะเปิดแอร์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะการใช้แอร์แบบผิด ๆ ที่เผลอไปโดยไม่รู้ตัว วันนี้กระปุกดอทคอมเลยรวบรวมมาฝากให้หายคาใจว่าการใช้แอร์แบบไหนที่ทำให้เปลืองพลังงานและต้องจ่ายค่าไฟแพงกว่าเดิม แล้วจะประหยัดค่าไฟช่วงหน้าร้อนได้อย่างไรบ้าง ถ้าจำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศทุกวันแบบนี้


วิธีใช้แอร์

1. ใช้เครื่องเก่าไม่ยอมเปลี่ยน

หลาย ๆ คนยังใช้แอร์เก่า ๆ ไม่ยอมเปลี่ยน เพราะเห็นว่ายังใช้ได้อยู่ ซึ่งจริง ๆ แล้วแม้ตัวเครื่องภายนอกจะยังดูดี แต่ระบบภายในก็เสื่อมไปตามระยะเวลาในการใช้งาน โดยเฉพาะแอร์เก่า ๆ ที่ใช้งานมานานเกิน 15 ปี ซึ่งนอกจากจะต้องเสียค่าซ่อมบำรุงแพงแล้ว ยิ่งใช้ยิ่งกินไฟอีกต่างหาก ดังนั้นแทนที่จะช่วยประหยัดอาจต้องจ่ายมากกว่าการซื้อเครื่องใหม่ ซึ่งเครื่องปรับอากาศในตอนนี้ก็มีทั้งการพัฒนาระบบที่ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าแถมยังมีฟังก์ชันเสริมต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งานของเรามากขึ้นด้วย


2. ยิ่งค่า BTU สูงยิ่งดี

นอกจากนี้บางคนอาจจะยังเข้าใจผิดคิดว่ายิ่งค่า BTU เยอะยิ่งทำให้บ้านเย็น ซึ่งจริง ๆ แล้วหากเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่า BTU สูงเกินความจำเป็นก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย แต่ถ้าเครื่องปรับอากาศมีค่า BTU ต่ำเกินไปก็จะทำเครื่องทำงานหนักและกินไฟ เพราะฉะนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่า BTU เหมาะสมกับขนาดของห้อง โดยคำนวนจากสูตร
   
          พื้นที่ห้อง (กว้างxยาว) x ค่า Cooling Load Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม

การประเมินค่า Cooling Load Estimation ที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง มีดังต่อไปนี้ ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร, ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร, ห้องรับประทานอาหาร 800-950 BTU/ตารางเมตร, ห้องครัว 900-1000 BTU/ตารางเมตร, ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร และห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร

ทั้งนี้สูตรคำนวณค่า BTU เหมาะสำหรับห้องที่มีเพดานไม่เกิน 3 เมตร หากเป็นห้องที่มีความสูงมากกว่าและมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของห้อง ทิศทางของแดด เครื่องใช้ไฟฟ้า และจำนวนผู้อาศัย จะต้องบวกค่า BTU เพิ่มขึ้นด้วย


3. ไม่เช็กตำแหน่งก่อนติดตั้ง

ตำแหน่งการติดตั้งแอร์ก็สำคัญ เพราะหากติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็ช่วยให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนักและประหยัดค่าไฟได้อีกทางหนึ่ง โดยพื้นที่ที่ติดตั้งแอร์ควรเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีสิ่งของบังทางลม พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นมุมอับ การติดตั้งแอร์บนผนังบ้านที่รับแสงแดดจัดหรือทิศตะวันตกเพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก รวมถึงไม่ติดตั้งแอร์บริเวณใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง เนื่องจากจะทำให้ความร้อนภายนอกไหลเข้ามาแทนที่อากาศภายในได้ง่าย


4. เปิดแอร์พร้อมพัดลมทำให้เปลืองไฟ

บางคนอาจจะคิดว่าการเปิดพัดลมพร้อมกับแอร์ทำให้เปลืองไฟ ซึ่งจริง ๆ แล้วเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟควรเปิดพัดลมควบคู่กับการเปิดแอร์ไปด้วย จะทำให้ห้องเย็นขึ้นและช่วยประหยัดไฟได้ ซึ่งมีทริกง่าย ๆ เริ่มจากปรับแอร์ไปที่ 25-27 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมไปพร้อม ๆ กัน พัดลมก็จะช่วยกระจายลมเย็นให้ทั่วห้อง และช่วยลดอุณหภูมิในห้องได้อีก 1-2 องศาเลยทีเดียว


5. เปิดแอร์อุณหภูมิต่ำจะช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้น

หลายคนคงเคยปรับแอร์ให้มีอุณหภูมิต่ำเพราะอยากให้ห้องเย็นเร็วขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ เพราะไม่ว่าตั้งให้อุณหภูมิต่ำสักแค่ไหน ก็ใช้เวลาในการทำความเย็นพอ ๆ กันกับการตั้งอุณหภูมิปกติอยู่ดี ทางที่ดีถ้าหากอยากให้ห้องเย็นเร็วขึ้น ให้เร่งความเร็วพัดลมแอร์จะช่วยได้ดีกว่า


6. อุณหภูมิ 25 องศา ช่วยประหยัดไฟได้มากที่สุด

แม้ว่าการตั้งอุณหภูมิ 25 องศา จะช่วยประหยัดไฟ แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่ง เพราะจริง ๆ แล้วควรใส่ใจดูแลรักษาตัวเครื่องไปพร้อมกัน โดยหมั่นตรวจเช็กระบบและทำความสะอาดเแอร์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานและทำให้ตัวเครื่องทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


7. เปิด-ปิดแอร์บ่อยประหยัดไฟมากกว่า

แม้จริง ๆ แล้วการเปิดแอร์ค้างไว้หลายชั่วโมงติดต่อกันจะเปลืองไฟมากกว่า แต่การเปิด-ปิดแอร์บ่อย ๆ ก็ส่งผลเสียกับตัวเครื่องไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะการทำแบบนี้จะทำให้เครื่องทำงานหนักและอายุการใช้งานสั้นกว่าที่ควรจะเป็น

แม้ว่าบ้านของคนไทยจะมีแอร์กันแทบทุกหลัง แต่เชื่อว่าถึงอย่างไรก็ต้องมีคนเข้าใจผิดอยู่ดี ฉะนั้นถ้าหากไม่อยากพลาดใช้แอร์ไม่ถูกวิธี จนเป็นเหตุทำให้เปลืองไฟและเปลืองพลังงานละก็ รีบแก้ไขด่วน ๆ เลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 กรกฎาคม 2024, 11:45:39 น. โดย siritidaphon »