ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ?  (อ่าน 61 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 513
  • รับจ้างโพสต์เว็บ สำหรับเจ้าของเวปไซต์ เจ้าของกิจการ
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ?
« เมื่อ: วันที่ 21 ตุลาคม 2024, 23:12:45 น. »
โรคหัวใจเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ?

ปัจจุบันแนวโน้มการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงดังนี้

     การรับประทานอาหาร
     ละเลยการดูแลสุขภาพร่างกาย

ซึ่งในผู้ป่วยบางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากมีอาการคล้ายคลึงกับหลายโรค การเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจกับทางโรงพยาบาลจึงเป็นทางเลือกสำคัญ เพราะการคัดกรองโรคได้เร็ว จะมีแนวโน้มการรักษาโรคต่างๆ ได้ทันนั้นเอง

 
สาเหตุของโรคหัวใจ ?

โรคหัวใจในความหมายคนทั่วไป มักจะหมายถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาในปัจจุบัน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดหัวใจที่มีคราบไขมันมาเกาะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ที่เรียกเป็น ตะกอนตะกรันในหลอดเลือด (Cholesterol Plague) เป็นเหตุให้หลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น หรือบางครั้งคราบไขมันนี้แตกทำให้ลิ่มเลือดมาอุดตันเฉียบพลัน ที่เรียก หัวใจวายหรือ Heart Attack

 
โรคหัวใจขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ ?

อายุ
ความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุ

เพศ
เพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง แต่เพศหญิงที่หมดประจำเดือนแล้วจะไม่มีความแตกต่างกับเพศชาย

กรรมพันธุ์
การถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ดังนั้นหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตของแต่ละคน

เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอล สูง และขาดการออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ รวมถึงความเครียด
 “ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง อันเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Coronary Heart Disease) ไขมันที่ทำให้เกิดปัญหาและต้องควบคุมปริมาณการรับประทาน คือ โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์”


ทราบได้อย่างไรว่าระดับไขมันในเลือดสูงเกินปกติหรือไม่ ?

แพทย์สามารถบอกได้ว่าท่านมีระดับไขมันในเลือดสูงเกินปกติหรือไม่  โดยการตรวจวัดปริมาณไขมันในเลือดหลังจากที่งดอาหารมาแล้วไม่น้อยกว่า  12  ชั่วโมง  โดยทั่วไปการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆ  ดังต่อไปนี้

    1.โคเลสเตอรอล  (Cholesterol)

    เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองและได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ถ้าบริโภคอาหารที่โคเลสเตอรอลสูง  จะก่อให้เกิดภาวะแข็งตัวและตีบตันของเส้นเลือด ในกรณีที่ค่าโคเลสเตอรอลสูกว่าปกติ  แพทย์จะพิจารณาค่า  HDL  และ  LDL  ร่วมด้วย  ซึ่งจะช่วยบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดแดงตีบตัน

    2.เอชดีแอล-ซี  (High  Density  Lipoprotein - Cholesterol)

    คือ  โคเลสเตอรอลชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองจากที่ตับและลำไส้เล็ก  มีหน้าที่จับไขมันโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดออกไปทำลายที่ตับ  การออกกำลังกาย  การรับประอาหารที่มีกากใย  เช่น  ผัก  ผลไม้  จะช่วยเพิ่มไขมัน  HDL  ในกรณีที่ค่า  HDL  ในเลือดอยู่ในพิสัยหรือสูงกว่าพิสัยที่กำหนด  จะพบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้

    3.แอลดีแอล-ซี  (Low  Density  Lipoprotein - Cholesterol)

    คือ  โคเลสเตอรอลชนิดหนึ่งมีหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่สร้างจากตับไปยังส่วนต่างๆ  ของร่างกาย  ถ้าร่างกายมีค่า  LDL  สูงมากเกินไป  จะทำให้มีโคเลสเตอรอลไปเกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือดและพอกพูนจนเส้นเลือดตีบแคบลงดังนั้น  ในกรณีที่ค่า  LDL  ในเลือดอยู่ในพิสัยหรือต่ำกว่าพิสัยที่กำหนดไว้  โอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะน้อยลงตามไปด้วย

    4.ไตรกลีเซอไรด์  (Triglyceride)

    เป็นไขมันที่ได้มาจากอาหารและจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายโดยตับและลำไส้เป็นตัวสร้าง  สาเหตุของการเกิดไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด เกิดจาก
     การรับประทานอาหารไม่ถูกส่วน  โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานเป็นปริมาณมาก
     โรคภัยต่างๆ  ได้แก่  โรคเบาหวาน  โรคไต  เป็นต้น
     ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์  เช่น  ร่างกายขาดเอนไซม์ที่จะย่อยไตรกลีเซอไรด์
     การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
     ขาดการออกกำลังกาย


สัญญาณอันตรายเตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ ?

1.เจ็บแน่นหน้าอก จะเป็นแบบ แน่นๆ หนัก ๆ เหมือนมีอะไรมากดทับ&รัด บริเวณทรวงอกด้านหน้า อาจมีร้าวไป กราม  คอ  ไหล่  ต้นแขนซ้ายได้  เป็นได้ทั้งตอนอยู่เฉยๆ  หรือออกกำลังกาย หรือมีภาวะตึงเครียด  อาจมีเหงื่อแตกร่วมด้วย  ส่วนอาการเจ็บหน้าอกแบบ จี๊ดๆ แปล๊บๆ  เหมือนเข็มแทง  หายใจเจ็บ หายใจไม่ออก มักเป็นจากสาเหตุอื่น

2.เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เทียบกับคนปกติหรือสิ่งที่ตัวเองเคยทำเป็นประจำ ซึ่งไม่เคยเหนื่อย เช่น เคยเดินขึ้นสะพานลอยได้ กลายเป็นเดินขึ้นไม่ไหว ต้องพักก่อน

3.วูบ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นอาการแสดงสำคัญที่ต้องลำดับต่อว่า เป็นโรคหัวใจหรือโรคทางสมอง หรืออื่นๆ

 
โรคหัวใจมีวิธีตรวจวินิจฉัยอย่างไร ?

1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้น ด้วยการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว โดยคลื่นไฟฟ้าจะช่วยบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย

2.การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiography) ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นสียงความถี่สูงซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจโดยหัวตรวจชนิดพิเศษ ช่วยในการวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรง และติดตามผลการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจแต่กกำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ

3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้จะช่วยบอกได้ว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ โดยทดสอบเดินบนเครื่องออกกำลังกายให้หัวใจทำงานเต็มที่ และดูการเปลี่ยนแปลงของกราฟหัวใจเมื่อมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ  ซึ่งเป็นผลจากภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบนั่นเอง

4.การบันทึกคลื่นหัวใจ 24 ชั่วโมง รวมถึงการเฝ้าระวังความผิดปกติ (Holter Monitering ECG) เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ เพื่อตรวจดูลักษณะของคลื่นหัวใจในขณะผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือคลื่นหัวใจที่ผิดปกติแม้จะไมมีอาการภายในช่วงเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยอาการตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำแต่บางครั้งขณะมาพบแพทย์อาการดังกล่าวไม่ปรากฏ

5. การศึกษาคลื่นไฟฟ้าภายในหัวใจ (หัวใจเต้นผิดจังหวะ)

6.การวินิจฉัยโดยการสวนหัวใจ

     การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (การสวนหัวใจ)
     การฉีดสีดูหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
     การฉีดสีดูหลอดเลือดเลี้ยงแขนขา

 
การรักษาโรคหัวใจ

1.การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

2.ใช้ยา เพื่อควบคุมโรคหัวใจหรือปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ

3.การรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด ได้แก่

     การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
     การขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน
     การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ


โรคหัวใจมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ?

1.ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้

     อายุ  ความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุ
     เพศ  เพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง แต่เพศหญิงที่หมดประจำเดือนแล้วจะไม่มีความแตกต่างกับเพศชาย
     กรรมพันธุ์  พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้

 2.ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้

     ความดันโลหิตสูง
     เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ขบวนการของหลอดเลือดแข็ง และหนาตัวเกิดเร็วขึ้น
     การสูบบุหรี่
     ภาวะไขมันผิดปกติ คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้มีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและหนาตัว
     โรคอ้วน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน
     ความเครียดทางอารมณ์
     ขาดการออกกำลังกาย

 
เราจะรู้ได้ไงว่าเป็นโรคหัวใจ?

สัญญาณอันตราย เตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ

1.เจ็บแน่นหน้าอก จะเป็นแบบ แน่นๆ หนัก ๆ เหมือนมีอะไรมากดทับ&รัด บริเวณทรวงอกด้านหน้า อาจมีร้าวไป กราม  คอ  ไหล่  ต้นแขนซ้ายได้  เป็นได้ทั้งตอนอยู่เฉยๆ  หรือออกกำลังกาย หรือมีภาวะตึงเครียด  อาจมีเหงื่อแตกร่วมด้วย  ส่วนอาการเจ็บหน้าอกแบบ จี๊ดๆ แปล๊บๆ  เหมือนเข็มแทง  หายใจเจ็บ หายใจไม่ออก มักเป็นจากสาเหตุอื่น

2.เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เทียบกับคนปกติหรือสิ่งที่ตัวเองเคยทำเป็นประจำ ซึ่งไม่เคยเหนื่อย เช่น เคยเดินขึ้นสะพานลอยได้ กลายเป็นเดินขึ้นไม่ไหว ต้องพักก่อน

3.วูบ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นอาการแสดงสำคัญที่ต้องลำดับต่อว่า เป็นโรคหัวใจหรือโรคทางสมอง หรืออื่นๆ