ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ป้องกันไฟฟ้าสถิตทำยังไง  (อ่าน 142 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 425
  • รับจ้างโพสต์เว็บ สำหรับเจ้าของเวปไซต์ เจ้าของกิจการ
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: ป้องกันไฟฟ้าสถิตทำยังไง
« เมื่อ: วันที่ 8 ธันวาคม 2023, 15:00:29 น. »
คุณเคยโดนไฟฟ้าสถิตหรือไม่ ที่จับหรือแตะเข้ากับวัสดุหรือผิวหนังของเพื่อนข้าง ๆ แล้วเกิดอาการไฟฟ้าสถิต แล้วสะดุ้ง ไฟฟ้าสถิตในร่างกายมนุษย์เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันไฟฟ้าสถิตได้อย่างไรบ้างเรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลย

ไฟฟ้าสถิตเกิดจากการเสียดสีกันของวัตถุ 2 ชนิด เช่น เราใส่เสื้อแล้วเดินแกว่งแขนไปมา ก็ทำให้ผิวเราและเสื้อเกิดการเสียดสีกัน ซึ่งการเสียดสีกันระหว่างสสารต่างชนิด จะทำให้ประจุไฟฟ้าเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ และประจุไฟฟ้าจะถ่ายเทได้ดีมากในที่อากาศแห้ง คนผิวแห้งก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ พอเราไปจับสิ่งของที่เป็นโลหะ หรือสิ่งต่างๆ ก็อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้
การเกิดไฟฟ้าสถิตเวลาจับสิ่งของเราสามารถป้องกันวิธีป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ดังนี้

1.ป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง โดยควรดื่มน้ำมาก ๆ รวมทั้งทาโลชั่นบำรุงผิวร่วมด้วย

2.เติมความชื้นในอากาศ โดยอาจอาศัยเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ หรือนำอ่างน้ำมาตั้งไว้ในห้องที่เราอยู่ก็ได้

3.พรมน้ำใส่เสื้อผ้าเล็กน้อย โดยเฉพาะเสื้อผ้าขนสัตว์ หรือพรมบนโซฟา เพื่อเพิ่มความชื้นและป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้า

4.สวมใส่รองเท้าพื้นยาง ยางจะช่วยลดทอนการไหลของประจุไฟฟ้าได้

5.สวมถุงเท้าผ้าคอตตอนเป็นตัวกรองประจุไฟฟ้าอีกชั้น

6.หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์ หรือโพลีเอสเตอร์ เพราะผ้าเหล่านี้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ง่าย เปลี่ยนมาใส่ผ้าฝ้ายแทนดีกว่า

7. ใช้เครื่องประดับช่วย หากคุณมักจะเกิดไฟฟ้าสถิตกับลูกบิดประตู หรือวัตถุใด ๆ ก็ตามอยู่บ่อยครั้ง ให้ลดทอนการถ่ายเทประจุไฟฟ้าด้วยการนำเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อย หรือโลหะใดก็ได้ ไปแตะกับวัตถุที่จะจับก่อน แค่นี้ไฟฟ้าสถิตก็จะไม่เกิดแล้ว

8.ปลูกต้นไม้ไว้ในห้อง และหมั่นรดน้ำให้ชุ่มชื้นเสมอ วิธีนี้จะช่วยลดอากาศแห้งได้

9.พยายามหลีกเลี่ยงการคลุมเตียง เพราะผ้าที่เสียดสีกันอาจสะสมประจุไฟฟ้าไว้มาก โดยเฉพาะหากห้องนอนไม่มีที่ระบายอากาศติดอยู่

10.ถือโลหะไว้ในมือ เมื่อต้องอยู่นอกสถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า อากาศที่แห้งในนั้นอาจทำให้ประจุไฟฟ้าในตัวคุณถูกสะสมโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นหากจับรถเข็น หรือตะกร้าแล้วเกิดไฟฟ้าสถิต แนะนำให้ถือโลหะอย่างกุญแจหรือสร้อยไว้ในมือสักพัก เพื่อถ่ายโอนประจุไฟฟ้าออกไปจากตัว จากนั้นจึงค่อยจับวัตถุอื่น ๆ ตามปกติ



มิเตอร์ไฟฟ้า เลือกขนาดยังไงให้เหมาะสมกับบ้าน?

อย่างแรกเราต้องมาอ้างอิงกันก่อนว่าเราอยู่ในพื้นที่ไหน รับการไฟฟ้าจากส่วนไหน โดยหลักๆไฟฟ้าที่เรารับมาจะมีอยู่ 2 แหล่งคือการไฟฟ้านครหลวง กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยการไฟฟ้านครหลวงจะจ่ายไฟให้กับ 3 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ จังหวัดอื่นๆที่ไม่ใช่ 3 จังหวัดนี้จะมีการส่งไฟฟ้าด้วยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การขอมิเตอร์เราก็ต้องไปขอ ณ การไฟฟ้าตามพื้นที่ที่รับผิดชอบ แต่คอนเซปต์ในการเลือกขนาดมิเตอร์จะคล้ายๆกัน คอนเซปต์ในการเลือกขนาดมิเตอร์เราต้องรู้ก่อนว่าโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเราใช้กระแสทั้งหมดภายในบ้านขนาดกี่แอมแปร์ เราจะสามารถรู้ได้จากการที่การคำนวณ

เราก็ต้องมาดูก่อนว่าบ้านเรามีอะไรบ้าง เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นกี่เครื่อง มีแอร์กี่เครื่อง มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ รวมทั้งหมดประมาณเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็เอามาคำนวณเป็นกระแสออกมา (ส่วนวิธีการคำนวณแอดมินจะมานำเสนอให้ Content หน้านะคะ) แล้วเราก็จะได้ว่าบ้านของเรามีขนาดของกระแสไฟกี่แอมแปร์ ซึ่งคอนเซปต์ตรงนี้จะเหมือนกันเลยไม่ว่าจะบ้านหลังไหนๆ พอเราได้กระแสที่เรารวมกันมาแล้วเราก็ต้องมาดูว่าการไฟฟ้าที่รับผิดชอบในพื้นที่บ้านเราอยู่มันมีขนาดมิเตอร์เท่าไหร่บ้าง โดยจะอ้างอิงหนังสือ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประชาชน พ.ศ.2556” เป็นหนังสือที่วิศวกรไฟฟ้าต้องถือกันทุกคน เราจะเริ่มจากการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงจะมีมิเตอร์หลายขนาดและมีขนาดที่เยอะกว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยจะมีตั้งแต่ 5(15) A , 15(45) A , 30(100) A ซึ่ง 3 ขนาดนี้จะไปตรงกับขนาดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วยนะคะ แต่ว่าการไฟฟ้านครหลวงจะเพิ่มขนาดอีก 3 ขนาดก็คือขนาด 50(150) A , 200 A และก็ 400 A เพิ่มขึ้นมา โดยที่แต่ละขนาดของมิเตอร์จะมีการกำหนดมาอยู่แล้วว่าโหลดในบ้านเราสูงสุดต้องห้ามเกินกี่แอมป์ ยกตัวอย่างเช่น 15(45) A กำหนดไว้ว่าโหลดทั้งหมดที่เราคำนวณมาต้องห้ามเกิน 30 แอมป์ เพราะถ้าเกิน 30 แอมป์เราก็ต้องเราก็ต้องปัดไปอีกขนาดหนึ่ง หรือแม้แต่ว่าขนาด 30(100) A โหลดภานในบ้านเราทั้งหมดก็ห้ามเกิน 75 แอมป์  มาพูดถึงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกันบ้างนะคะว่าจะมีขนาดมิเตอร์แค่ 3 ขนาดคือ 5(15) A , 15(45) A , 30(100) A แต่ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะไม่ได้กำหนดโหลดสูงสุดเท่ากับการไฟฟ้านครหลวงและไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ยกตัวอย่างเช่น มิเตอร์ 15(45) A ถ้าเป็นของการไฟฟ้านครหลวงจะกำหนดมาให้เราใช้โหลดได้สูงสุดแค่ 30 แอมป์ แต่ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เราใช้โหลดได้ 36 แอมป์นะคะ ส่วนมิเตอร์ 30(100) A ถ้าเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะให้เราใช้โหลดได้สูงสุดถึง 80 แอมป์ แต่ของการไฟฟ้านครหลวงใช้โหลดได้ถึง 75 แอมป์เองค่ะ

แล้วปัจจุบันโหลดภายในบ้านเราส่วนใหญ่ก็จะมีทั้งแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า เหรดต่ำสุดควรจะใช้มิเตอร์ขนาด 15(45) A บ้านสมัยก่อนยังสามารถใช้ 5(15) A ได้ เพราะสมัยก่อนก็ยังไม่มีแอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มันกินกระแสไฟมากเท่าปัจจุบัน แต่ยังไงเราก็ต้องดูก่อนว่าโหลดทั้งหมดที่เราคำนวณออกมาแล้วมันมีกี่แอมป์ เพราะว่าบางทีบ้านเราหลังเล็กก็จริงแต่ว่าโหลดไฟฟ้าต่างๆนานาเยอะแยะมากมาย บางทีเราก็ไม่สามารถเดาได้ซึ่งตรงนี้เราก็อาจจะต้องให้วิศวกรที่มีความชำนาญมาคำนวณให้ และจะมีคำถามเพิ่มมาคือ แล้วถ้าเราคำนวณโหลดมาและมันมีโหลดที่มันเกินกว่าในตารางหรือการอ้างอิงเราจะต้องทำยังไง เพราะบางทีบ้านเราหลังใหญ่พื้นที่กว้างๆ ซึ่งมี 2 วิธี วิธีแรก อาจจะต้องขอไฟที่เป็นไฟ 3 เฟส ปกติบ้านทั่วไปๆจะขอแค่ 1 เฟส แต่ถ้าเราไปขอไฟ 3 เฟสแล้วโหลดมันก็ยังเกินในตารางหรือการอ้างอิงอยู่ วิธีที่สอง เราคงต้องไปติดตั้งหม้อแปลงแล้วล่ะค่ะ เพราะถ้าเป็นระดับที่ต้องติดตั้งหม้อแปลงภายในบ้าน ก็ต้องเป็นบ้านที่สร้างโรงงานภายในบ้านประมาณนี้ค่ะ



บริหารจัดการอาคาร: ป้องกันไฟฟ้าสถิตทำยังไง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/