ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: เบรกเกอร์คืออะไร ทำหน้าที่อะไร  (อ่าน 206 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 512
  • รับจ้างโพสต์เว็บ สำหรับเจ้าของเวปไซต์ เจ้าของกิจการ
    • ดูรายละเอียด
เบรกเกอร์คืออะไร ทำหน้าที่อะไร    หลายคนอาจสับสนกับชนิดของเบรกเกอร์ที่มีมากมายหลายประเภทตามแรงดันไฟฟ้าและตามการใช้งาน ก่อนที่เราจะพูดถึงเบรกเกอร์แบบ MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าเบรกเกอร์คืออะไร


เซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) หรือเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ทำงานโดยการตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า โดยจะเปิดและปิดวงจรแบบไม่อัตโนมัติ (สวิตช์เปิด-ปิดด้วยมือ) รวมถึงสามารถเปิดวงจรอัตโนมัติเมื่อกระแสไหลเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ สังเกตได้จากด้ามจับคันโยกที่จะเลื่อนมาที่ตำแหน่ง Trip (อยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF) เมื่อทำการแก้ไขเรียบร้อยก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้เช่นเดิมโดยที่ตัวเบรกเกอร์เองไม่ได้รับความเสียหาย ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินหรือลัดวงจรได้เช่นเดียวกับฟิวส์ แตกต่างกันตรงที่ฟิวส์จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เมื่อทำการเปิดวงจรหรือตัดวงจร ในขณะที่เบรกเกอร์สามารถที่จะปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาความผิดปกติในระบบแล้ว

 
เบรกเกอร์มีหน้าที่อะไร

เป็นอุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้าแบบไม่อัตโนมัติ ใช้สำหรับป้องกันความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องจักร หรือป้องกันไฟรั่วไฟดูดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด ลักษณะโครงสร้างของเบรกเกอร์จะเป็นรูปทรงสีเหลี่ยมต่างๆ มีสวิตซ์ปัดขึ้น-ลง และมีช่องไว้สำหรับพ่วงต่อสายไฟ ผลิตด้วยพลาสติกที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ปัจจุบันเบรกเกอร์จะมีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภททั้งเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงเบรกเกอร์ขนาดใหญที่ใช้สำหรับกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้กับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึงแต่ละประเภทก็จะมีพิกัดแรงดันไฟฟ้าและคุณสมบัติการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรเลือกใช้รุ่นที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน


MCCB เซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน ซึ่งการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แตกต่างกันตรงที่เมื่อตัดวงจรแล้วสามารถที่จะปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาแล้ว

 
ประเภทของเบรกเกอร์

เบรกเกอร์สามารถแบ่งประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า ซึ่งหากแบ่งตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าจะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ Low Voltage , Medium Voltage, High Voltage


    Low Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ เบรกเกอร์ที่นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย คือ ได้แก่ MCB, MCCB และ ACB สำหรับเบรกเกอร์เหล่านี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับการใช้งาน


– MCB (Miniature Circuit Breakers) หรือที่เรียกกันว่า เบรกเกอร์ลูกย่อยหรือลูกเซอร์กิต มีขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านหรืออาคารที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100 A มีทั้งขนาด 1, 2, 3 และ 4 Pole ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส สำหรับการใช้งานจะใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load center) หรือแผงจ่ายไฟฟ้าในห้องพักอาศัย (Consumer unit)


– RCDs (Residual Current Devices) เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่ช่วยตัดกระแสไฟ หรือป้องกันกระแสไฟรั่ว ไฟดูด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ RCBO (ป้องกันไฟดูดช๊อต), RCCB (ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB (ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส) ซึ่งจะติดตั้งใน ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท (Consumer unit) และตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า


– MCCB (Moulded Case Circuit Breakers) เบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100 – 2,300 A เหมาะกับติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรม เบรกเกอร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติที่สามารถทนกระแสลัดวงจรหรือค่า kA ได้สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) แต่น้อยกว่าเบรกเกอร์ประเภท ACB


– ACB (Air Circuit Breakers) แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ มีความแข็งแรง สามารถทนทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 6,300A ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในวงจรไฟฟ้าในโรงงาน

 
 Medium Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง ถูกประกอบเข้าไปในตู้เหล็กสวิตซ์ขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในอาคารหรือใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น ACB, Oil-filled Circuit Breaker และ Vacuum Circuit Breakers

 

    High Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง จะติดตั้งในการส่งกำลังไฟฟ้าที่ต้องมีการป้องกันและควบคุมโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง งานส่งกำลังจะมีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV หรือสูงกว่า ตัวอย่างเช่น Solenoid Circuit Breaker เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟสูงจะทำงานด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าอีกที ในส่วนของชุดรีเลย์ป้องกันที่ซับซ้อนนั้น ช่วยป้องกันอุปกรณ์จากโหลดเกินหรือไฟรั่วลงดินได้

 


ซ่อมบำรุงอาคาร: เบรกเกอร์คืออะไร ทำหน้าที่อะไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/