ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าในยุคดิจิทัล  (อ่าน 194 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 510
  • รับจ้างโพสต์เว็บ สำหรับเจ้าของเวปไซต์ เจ้าของกิจการ
    • ดูรายละเอียด
การสร้างแบรนด์ คือ พันธกิจสำคัญสำหรับธุรกิจที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักและยินดีที่จะเปิดใจซื้อสินค้าและบริการ ตัวอย่างการสร้างแบรนด์มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ลงบน Social Media การผลิตชิ้นงานโฆษณาทางทีวี หรือแม้แต่การคิดค้นโปรโมชันพิเศษที่ดึงดูดใจ  จะพาคุณไปหาคำตอบว่า Branding Strategy คืออะไร และวิธีสร้างแบรนด์ให้ได้ผลต้องทำอย่างไร มาศึกษาเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กัน!


การสร้างแบรนด์ คืออะไร

การสร้างแบรนด์ (หรือที่บางท่านเรียกว่า แบรนด์ดิ้ง) คือ การที่แบรนด์หาวิธีสื่อสารให้สาธารณชนทราบว่า ตัวตน เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของแบรนด์เป็นอย่างไร เพื่อสร้างภาพจำและจุดประกายความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งในขั้นตอนการสร้างแบรนด์นั้น เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการตลาดบางทฤษฎีด้วย อาทิ Branding Strategy, 4P หรือ SWOT โดยเฉพาะ SWOT ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด

หากคุณกำลังสร้างแบรนด์ของตัวเอง และต้องการศึกษาเรื่อง SWOT เพิ่มเติม – อ่านต่อได้ที่ ​​SWOT คืออะไร (SWOT Analysis) ตัวอย่างการวิเคราะห์ธุรกิจในปัจจุบัน


การสร้างแบรนด์ ดีต่อธุรกิจอย่างไร

ก่อนจะลงมือสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง Digital Tips อยากให้คุณเห็นภาพก่อนว่า การสร้างแบรนด์ดีต่อธุรกิจอย่างไร และทำไมเจ้าของธุรกิจเช่นคุณจึงต้องให้ความสำคัญ


1. สร้างการรับรู้ให้กับลูกค้าว่า “คุณอยู่ตรงนี้”

มีโอกาสน้อยมากที่สินค้าและบริการของคุณจะไม่ซ้ำกับคนอื่น ดังนั้น เมื่อลูกค้าคิดจะซื้อสินค้าหรือบริการประเภทนั้น ๆ พวกเขาจึงค้นพบตัวเลือกมากกว่า 1 เสมอ ด้วยเหตุนี้เอง การสร้าง Brandingจึงสำคัญ เพราะเป็นกลยุทธ์การตลาดเดียวที่จะทำให้ลูกค้าทราบว่า ในหมู่ธุรกิจประเภทนี้มีแบรนด์ของคุณอยู่ด้วย 


2. สร้างความน่าเชื่อถือ

ลองคิดในมุมของลูกค้า หากคุณกำลังดูน้ำผลไม้ 2 ขวดที่วางคู่กันอยู่บนเชลฟ์ ขวดหนึ่งเขียนเพียงว่าเป็นน้ำผลไม้ 100% ในขณะที่อีกขวดเห็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์สินค้า จึงคิดโลโก้ เลือกสี รูปภาพ ฟอนต์ และปรินท์ออกมาเป็นฉลากติดรอบขวดอย่างมืออาชีพ คุณจะมองว่าน้ำผลไม้ขวดใดมีแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ และควรซื้อมากกว่ากัน


3. กระตุ้นให้เกิดการบอกต่อ

การสร้างแบรนด์จะทำให้ลูกค้าทราบว่า “คุณคือใคร และพวกเขาควรเรียกคุณว่าอย่างไร” นั่นทำให้เมื่อพวกเขาประทับใจในสินค้า พวกเขาก็จะสามารถเอ่ยชื่อแบรนด์ของคุณ เพื่อแนะนำให้กับคนรอบตัวอย่างมั่นใจ และทำให้แบรนด์ของคุณเป็นรู้จักมากขึ้นนั่นเอง


4. นำหน้าคู่แข่งอยู่ 1 ก้าวเสมอ

สิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทราบดีว่าตัวเองมีคู่แข่ง นั่นคือ การสร้างแบรนด์ ซึ่งเน้นการสร้างภาพจำ ให้แบรนด์ของตนมีเอกลักษณ์แตกต่างกับคู่แข่ง ดังนั้น ธุรกิจที่สร้างแบรนด์ได้อย่างแข็งแกร่ง จึงถือว่าได้ก้าวไปไกลกว่าคู่แข่ง 1 ก้าวแล้ว


5. สร้างฐานลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์

เมื่อลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์มากจนถึงระดับหนึ่งแล้ว พวกเขาก็จะเต็มใจเลือกสินค้าและบริการของแบรนด์นั้น ๆ จนถือได้ว่าเป็นลูกค้าประจำที่ภักดีต่อแบรนด์ และมีรายชื่ออยู่ในลิสต์ลูกค้า ที่แบรนด์จะเลือกมาเป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาด เช่น คอนเทนต์บน Facebook, Instragram หรือการทำ SEO เป็นต้น

อยากรู้จัก SEO ให้มากขึ้น – อ่านเพิ่มเติมได้ใน SEO คืออะไร พร้อมกลยุทธ์ให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบน Google


6. เพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ

นอกจากจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าแล้ว ธุรกิจที่สร้างแบรนด์สำเร็จ ย่อมจะได้รับความเชื่อใจจากพาร์ทเนอร์และคู่ค้ามากมายในตลาดด้วย จึงกล่าวได้ว่า การสร้างแบรนด์ธุรกิจนั้น เพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของคุณในอนาคตด้วย


5 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์

เมื่อทำความรู้จักกับการสร้างแบรนด์จนครอบคลุมแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการลงมือสร้างแบรนด์ โดยใช้การทำ Digital Marketing ประกอบด้วย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 : ทำ Market Research

มาเริ่มต้นกันที่การเก็บข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลของตลาดและข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย

-    ข้อมูลของตลาด: ศึกษาดูว่า แบรนด์ใดบ้างที่ประกอบธุรกิจแบบเดียวกับคุณ พวกเขาเป็นบริษัทใหญ่แค่ไหน เปิดทำการมานานเท่าไหร่ กลุ่มลูกค้าของพวกเขามักเป็นใคร พวกเขาทำการตลาดผ่านช่องทางใดบ้าง ฯลฯ โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้หลายวิธี เช่น ในหน้า Google Search, Social Media, การเข้าร่วมงานอีเวนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว แนะนำให้ลองจัด Brand Positioning เพื่อให้คุณเห็นภาพว่า “คุณอยู่อันดับไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง”

-    ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย: หัวใจสำคัญของ Branding Strategy คือ กลุ่มเป้าหมาย – แนะนำให้คุณลองวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณจะเป็นใครได้บ้าง ผ่านการศึกษาข้อมูลลูกค้าของคู่แข่ง ก่อนนำมาจัดกลุ่มตามเทคนิค STP Marketing เพื่อการมองเห็นกลุ่มเป้าหมายตัวจริงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น


ขั้นตอนที่ 2 : วางแผนทำ Brand Strategy

เมื่อบันทึกและจัดกลุ่มข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การวางแผนทำ Brand Strategy ลองวิเคราะห์ว่า จุดเด่นที่ทำให้คุณแตกต่างกับคู่แข่งคืออะไร แบรนด์ของคุณสามารถบรรเทาปัญหาอะไรของผู้บริโภคได้บ้าง และคุณจะแสดงตัวตนของแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบได้อย่างไร


ขั้นตอนที่ 3 : การสร้าง Brand Identity

หลังจากวางเป้าหมายด้วย Brand Strategy แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการสร้างแบรนด์ นั่นคือ การออกแบบอัตลักษณ์แบรนด์ ให้เป็นที่จดจำของผู้คน ผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้


กำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์

ลองสมมติว่าแบรนด์ของคุณคือคนหนึ่งคน หากคุณต้องการจะสร้างคน ๆ นี้ขึ้นมาใหม่ คุณอยากให้เขามีบุคลิกภาพแบบไหน เช่น เป็นคนสุขุม เยือกเย็น จริงจัง หรือเป็นคนใจดี ขี้เล่น เป็นมิตร บุคลิกภาพเหล่านี้สะท้อนออกมาผ่านวิธีสร้างแบรนด์ได้ ผ่านการเลือกใช้สี ฟอนต์ การเลือกใช้คำ หรือแม้แต่โทนของสื่อโฆษณาที่จะนำเสนอสู่สาธารณชน


กำหนดแนวทางการพูดคุยของแบรนด์

การตั้งรับกับการสื่อสาร ก็เป็นอีกพาร์ทหนึ่งของขั้นตอนการสร้างแบรนด์เช่นเดียวกัน ลองคิดดูว่าหากจำเป็นต้องมีการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับสื่อมวลชน หรือกับสาธารณชนที่มีข้อสงสัย แบรนด์จะสื่อสารด้วยภาษาอย่างไร หรือจะตอบคำถามผ่านแพลตฟอร์มไหน เป็นต้น


สร้างเรื่องราวของแบรนด์

เรื่องราวเบื้องหลังจะทำให้คนรู้สึกเชื่อมั่นในแบรนด์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์ที่เริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก ๆ จนค่อย ๆ ประสบความสำเร็จและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพราะเรื่องราวเช่นนี้จะเล่นกับอารมณ์ของผู้ชม และสร้างความประทับใจได้ดีที่สุด



ขั้นตอนที่ 4 : การวาง Style Guide

อาจกล่าวได้ว่า Brand Identity คือ ปัจจัยที่เป็นนามธรรม แต่สำหรับการวาง Style Guide นั้น ถือเป็นเรื่องที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ปัจจุบันการวาง Style Guide คือ ขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล เพราะเกี่ยวพันกับงานกราฟิก ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตชิ้นงานโฆษณาลงแพลตฟอร์มออนไลน์


ตั้งชื่อและสร้างโลโก้

แนะนำให้ตั้งชื่อที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือตัวตนของแบรนด์ เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ได้ และดีไซน์โลโก้ที่สื่อถึงชื่อแบรนด์โดยตรง สื่อสารไว เข้าใจง่าย ที่สำคัญต้องพยายามออกแบบให้ไม่ซ้ำใคร เพื่อป้องกันการสับสนกับแบรนด์อื่น ๆ


สร้างสีและรูปแบบแบรนด์

แนะนำให้เลือกใช้สีโดยคำนึงถึงประเภทของผลิตภัณฑ์ และบุคลิกภาพของแบรนด์ หากเป็นไปได้ ให้เลือกสีธีมของแบรนด์ไม่เกิน 2 สี เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำได้ง่าย ๆ ไม่เพียงแต่เรื่องสีเท่านั้น การเลือกใช้ฟอนต์ก็เช่นกัน บ่อยครั้งที่การสร้างแบรนด์บรรลุเป้าหมาย เพราะเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายและดูเป็นมืออาชีพ จนสามารถทำให้คนเชื่อมั่นในแบรนด์ได้สำเร็จ


ขั้นตอนที่ 5 : เริ่มต้นทำ Brand Awareness

ปลายทางของการสร้างแบรนด์ธุรกิจ ก็คือการสร้าง Brand Awareness หรือความตระหนักในตัวแบรนด์ ซึ่งในส่วนนี้เองที่จะต้องใช้เทคนิคทาง Digital Marketing เข้าช่วย อาทิ การทำ SEO การทำ Remarketing ไปยังลูกค้ากลุ่มเดิม หรือการยิงแอดโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายใน Social Media เช่น Facebook, Instagram, LINE, TikTok เป็นต้น

   
รู้จักกับการยิงแอดโฆษณาให้มากขึ้น

เพื่อให้คุณเห็นภาพการสร้างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จได้ชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างวิธีสร้างแบรนด์ ของแบรนด์ระดับโลกอย่าง Apple ที่ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ที่ทำรายได้อันดับ 1 ของโลกหลายปีซ้อน

การทำแบรนด์ของ Apple น่าสนใจตั้งแต่การวาง Brand Strategy ที่มุ่งเน้นการเป็นผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียม พวกเขาใช้เทคนิค STP Marketing กำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มที่มีกำลังซื้อ หรือกลุ่มที่ยินดีจะจ่ายแพง รวมทั้งยังกำหนด Brand Positioning ของตน ว่าเป็นแบรนด์ที่มุ่งเน้นการจำหน่าย Gadget ราคาแพง แต่คุณภาพสูง เพื่อคนไลฟ์สไตล์แบบไฮเอนด์ โดยไม่กังวลว่าสินค้าจะไม่เป็นที่นิยมในวงกว้างแม้แต่นิดเดียว

และแน่นอนว่า เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนี้ Content Marketing คือ สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เราจึงมีโอกาสเห็นงานอาร์ตที่เน้นภาพคมชัดแบบ High Resolution แฝงอารมณ์ขันแบบคมคาย และไลฟ์สไตล์หรูหรา แฝงอยู่ในงานโฆษณาทุกชิ้นของ Apple ซึ่งต้องยอมรับว่า เทคนิคของ Apple สอดรับกับการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และสามารถประทับภาพจำลงไปในสายตาของลูกค้าในฐานะ Gadget ที่หรูหราได้สำเร็จ


กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ปัง!

การสร้างแบรนด์ให้ได้ผลจำเป็นต้องใช้ Tactic เพื่อร่นระยะทางให้คุณไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ซึ่งในหัวข้อนี้ Digital Tips ขอเสนอ 3 กลยุทธ์สร้างแบรนด์ให้ปัง ดังนี้

    การสร้างแบรนด์ 4.0 ด้วยคอนเทนต์แบบ Short Video: แม้แต่แบรนด์ใหญ่ ๆ ก็ยังเริ่มลงทุนในแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นกันมากขึ้น ลองทำคอนเทนต์วิดีโอสั้น ๆ เข้าใจง่าย ลงบนแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นต่าง ๆ ได้แก่ Tiktok, Reels, Stories และสำหรับการยิงโฆษณา แนะนำให้โฟกัสที่การยิงแอด Tiktok เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่เข้าถึงผุ้คนได้มากที่สุด
    จำลองเส้นทางการสร้างแบรนด์ด้วย Marketing Funnel: Marketing Funnel คือ การจำลองกระบวนการสร้างแบรนดิ้ง ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้คุณเห็นภาพรวม และสามารถวางแผนป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เริ่มต้น
    หมั่นวัดประสิทธิภาพโฆษณาเป็นประจำ: เมื่อต้องการให้คนหมู่มากรู้จักและเข้าถึงแบรนด์ การยิงแอดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เช่นเดียวกับเทคนิคการขายของออนไลน์ทั่ว ๆ ไป และเพราะเหตุนี้ คุณจึงไม่ควรยิงแอดโดยละเลยการดู Insights เพื่อวัดผลโฆษณา และปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าในยุคดิจิทัล  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/