ปัจจุบันสถิติสูงสุดของโลกที่คร่าชีวิตทั้งชายและหญิงเห็นจะหนีไม่พ้นโรคหัวใจ โรคหัวใจถือเป็นภัยร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยมากถึง 20,855 คน ต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยหัวใจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย ทำให้อาจละเลยการไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ดังนั้น กรมสุขภาพจิตจึงให้ข้อมูล สัญญาณเตือนของโรคหัวใจวายซึ่งจะมีอาการอย่างไรบ้างนั้น ลองมาเช็คสุขภาพไปพร้อมๆกัน
1. จะรู้สึกอ่อนเพลียมาก รู้สึกเหนื่อยจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
2. มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณหลัง แขน หรือหน้าอก เมื่อเกิดอาการหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจจะถูกปิดกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการนี้จะส่งสัญญาณไปยังสมอง แต่สมองกับเกิดการสับสน ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ที่บริเวณอื่น ไม่เพียงแต่หน้าอกเท่านั้น
3. มีอาการหายใจเต้นถี่ สังเกตจากการขึ้นและลงบันได้ หากรู้สึกเหนื่อยง่ายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ นั่นคือ เป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคหัวใจแล้ว
4. แสบร้อนกลางหน้าอก แต่อาจจะเป็นเพียงโรคกรดไหลย้อนก็ได้เช่นกัน มีวิธีสังเกตอาการแสบร้อนกลางหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจก็คือ จะมีอาการแสบร้อนอย่างหนักจนไม่สามารถทำอะไรได้
5. ท้องไส้ปั่นป่วน มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรืออาการลำไส้ปั่นป่วน
6. อึดอัดบริเวณคอและขากรรไกร ซึ่งอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่าอาการเจ็บหน้าอก และมักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
7. รู้สึกมีบางอย่างผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจจะรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติไปจากเดิม เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณเงียบที่ไม่ควรละเลยถึงแม้ว่าผลที่ออกมาอาจจะไม่ใช่อย่างที่คิดแต่การเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองก็อาจจะทำให้ปลอดภัยจากอาการหัวใจวายรุนแรงได้
ทุกคนสามารถป้องกันโรคหัวใจด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างและหมั่นสำรวจตนเองถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายหาก มีอาการตรงตาม 7 สัญญาณที่กล่าวมาเพียง 2 – 3 ข้อ ก็อย่าชะล่าใจที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค
ดังนั้นเราไม่อยากที่จะเป็นโรคหัวใจเรามาหาวิธีการป้องกันโรคหัวใจมีดังนี้
1. กินปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพราะปลาทะเลมีกรดโอเมก้า 3 ช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ปลาทะเลที่มีกรดโอเมก้าสูง ได้แก่ปลาทู ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน ปลาดาบปลากระพง
2. กินถั่วเมล็ดแห้ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ มีใยอาหารชนิดละลายในน้ำได้สูง ใยอาหาร ชนิดนี้ช่วยลด แอลดีแอลคอเลสเตอรอล ถั่วมีสารซาโปนิน(saponin)ซึ่งจะจับกับคอเลสเตอรอลในลำไส้และขจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ถั่วดังกล่าวยังมีโปรตีนสูงใช้แทนเนื้อสัตว์ใหญ่ได้ อีกทั้งการลดเนื้อสัตว์ใหญ่จะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่ร่างกายจะรับได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโทรเจนช่วยลด แอลดีแอลคอเลสเตอรอลและทำให้สัดส่วนของคอเลสเตอรอลรวมและ เอชดีแอล คอเลสเตอรอลดีขึ้น รวมทั้งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจ ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูงสุด พบว่า การกินโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัมจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ โดยช่วยลดแอลดีแอลคอเลส เตอรอลได้ประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ต่อมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถั่วยังมีแมกนีเซียมสูงมากโดยเฉพาะถั่วดำ การวิจัยของมหาลัยแพทย์ในแคลิฟอร์เนียใต้(Medical University of South California) ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ที่กินแมกนีเซียมจากอาหารไม่เพียงพอมีโอกาสถึง สองเท่าที่จะมีระดับซีอาร์พีในเลือดสูง ( ซีอาร์พีเป็นสารที่บ่งชี้การอักเสบในร่างกายที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจได้หากไม่แก้ไข)
3. กินผักและผลไม้หลากหลายสีทุกวัน เพราะว่าผลไม้ผักและผลไม้เป็นแหล่งของใยอาหาร สารฟลาโวนอยด์ สาร แอนติออกซิแดนต์ วิตามิน และเกลือแร่อีกหลายชนิดที่ช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลลดความเสี่ยงโรคหัวใจ มีพลังงานต่ำ และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวอีกด้วย
ควรกินผักในตระกูล ครูซิเฟอรัส ทุกวัน ได้แก่ ผักคะน้า บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ แขนงผัก กะหล่ำปลี ผักกาดกวางตุ้ง ผักประเภทนี้มีพลังงานต่ำ บรอกโคลีสุกครึ่งถ้วยให้พลังงาน 27 แคลอรี นอกจากจะให้ใยอาหารแล้วยังให้สารอาหารหลาย ๆ ชนิดที่ช่วยลด แอลดีแอล คอเลสเตอรอล และป้องกันโรคหัวใจได้
4. กินผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ขนมปังโฮลวีต เส้นหมี่ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ อาหารดังกล่าวจะให้ใยอาหาร วิตามินบี และวิตามินอีเพิ่มขึ้น มีผลช่วยลด แอลดีแอลคอเลสเตอรอล ข้าวบาร์เลย์มีใยอาหารละลายน้ำได้ (เบต้ากลูแคน)สูง ช่วยให้ย่อยช้า จึงควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้ขึ้นสูงและยังช่วยลดคอเลสเตอรอล
5. ใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำแต่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ซึ่งจะช่วยลด แอลดีแอล คอเลสเตอรอล ทุก ๆ 1เปอร์เซ็นต์ที่ลดไขมันอิ่มตัวในอาหารจะช่วยลด แอลดีแอลคอเลสเตอรอลลงได้ 2% ข้อสำคัญคือ ไม่ควรทดแทนไขมันอิ่มตัวด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตขัดสีหรือขนมไขมันต่ำ เพราะว่าแม้ แอลดีแอลคอเลสเตอรอลจะลดลงจริง แต่ทำให้ เอซดีแอลพลอยลดไปด้วย ซึ่งจะยิ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจ ควรทดแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชาน้ำมันรำข้าว ถั่วเปลือกแข็งหรือนัทและอะโวคาโด
6. กินผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมัน แทนผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็มทุกวัน จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
7. ควบคุมปริมาณอาหารที่กินในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ควรกินเกินวันละ 200 กรัม
8. สมุนไพร เครื่องเทศ ไม่ว่าของไทย หรือฝรั่งมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
9. โกโก้สกัดมีสารไพรไชยาดินส์ (procyanidins) ซึ่งช่วยให้ผนังหลอดเลือดคลายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจ นอกจากนี้สารไพรไชยานิดินส์ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
สุขภาพดีหรือไม่นั้นคุณเลือกได้ เริ่มต้นง่าย ๆ แค่กินอาหารให้เป็น หนึ่งในสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยนั้นมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราไม่ว่าจะด้วยเรื่องการพักผ่อนน้อย ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย หรือการใช้ร่างกายแบบผิด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการกินอาหาร
อาหารสุขภาพ ช่วยป้องกันหัวใจวาย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/